บทความที่ได้รับความนิยม

วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

ประวัติศาสตร์อันตราย...? หรือ.... นักประวัติศาสตร์อันตราย !

โดย Bidya Sriwattanasarn เมื่อ 29 มีนาคม 2012 เวลา 16:49 น. ·


ปาฐกถาของศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. เจตนา นาควัชระ เรื่อง "เพราะรักจึงสมัครเข้าร่วม: อาเซียนฉบับสามัญชน" ตอนหนึ่งชี้ให้เห็นถึงการแพร่กระจายของเครื่องถ้วยสังคโลก "คุณภาพส่งออก" ไปยังอินโดนีเซียโดยถูกนำไปใช้ในพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย ทำให้ช่วยรักษาสภาพของวัตถุไว้ได้เป็นอย่างดี

เมื่อ 28 มีค. 55 ผู้เขียนไปเข้าร่วมการสัมมนาวิชาการเรื่อง “อาเซียน ประชาคมในมิติวัฒนธรรม ความขัดแย้งและความหวัง” ระหว่าง 28-30 มีนาคม 2555 ที่ศูนย์มานุษยวิทยา สิรินธร ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ โดยใช้สถานภาพBloggerของเว็บบล็อกสยาม-โปรตุเกสศึกษา(http://siamportuguesestudy.blogspot.com)เป็นใบเบิกทาง เป็นใบเบิกทาง เนื่องจากได้พยายามเดินเรื่องตามกระบวนการภายใต้อำนาจของฝ่ายบริหาร เพื่อเบิกค่าสัมมนา(1,000 บาท)แล้ว แต่ปรากฏว่า ปีนี้ไม่เหลืองบประมาณส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรด้านนี้เลย ดังนั้น จึงได้ติดต่อฝ่ายจัดงานเพื่อของลงทะเบียนในฐานะสื่อมวลชน

ผู้เขียนสนใจการสัมมนาวิชาการครั้ง เพราะจะมีนักวิชาการผู้มีชื่อเสียงจากต่างประเทศเดินทางมาบรรยายเรื่อง ประวัติศาสตร์อันตราย อันเป็นส่วนหนึ่งของการอธิบายวิกฤตด้านวัฒนธรรมการเมืองในสังคมไทยด้วยมุมมองแบบมาร์กซิสม์ โดยก่อนหน้านี้ นักวิชาการผู้นี้เคยกล่าวหาสังคมไทยเป็น "สังคมตอแหล" อย่างปราศจากความเข้าใจรากเหง้าทางวัฒนธรรม ซึ่งนับเป็นอันตรายเป็นอย่างยิ่ง ต่อความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ


การที่ยังไม่แลเห็นว่ามีนักวิชาการคนใดตอบโต้คำวิจารณ์ดังกล่าว ในฐานะพลเมืองไทย ผู้เขียนได้พยายามติดตาม ศึกษาและค้นคว้าเอกสารประวัติศาสตร์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงและตอบโต้การเผยแพร่แนวคิดดังกล่าวมาระยะหนึ่งแล้ว การเข้าร่วมการสัมมนาวิชาการนี้ก็หวังที่จะแลเห็นประเด็นหักล้างความเห็นข้างต้นให้มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี ในความพยายามที่จะลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนานั้น ในชั้นต้นเจ้าหน้าที่ขอให้ไปลงทะเบียนแบบบุคคลทั่วไป แต่ผู้เขียนปฏิเสธเนื่องจากได้สอบถามข้อมูลมาก่อนล่วงหน้าแล้วว่าจะยืนยันลงทะเบียนในสถานภาพของการเป็น blogger ของเว็บไซต์ http://siamportuguesestudy.blogspot.com


ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. เจตนา นาควัชระ เน้นให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสันติภายใต้เงื่อนไขของการผสมผสานทางวัฒนธรรมและเคารพซึ่งกันและกัน โดยหลีกเลี่ยงปัจจัยอ่อนไหวที่จะทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมือง และชี้ว่าประวัติศาสตร์ไม่อันตราย ทำให้เบาใจว่า ในประเทศไทยยังมีนักวิชาการกระแสสร้างบ้านแปงเมืองเป็นตัวเป็นตนอยู่ให้เห็นอยู่บ้าง

ศาสตราจารย์ ดร. ธงชัย วินิจจะกูล แสดงปาฐกถาเรื่อง "ประวัติศาสตร์อันตราย" โดยบอกว่าประวัติสาสตร์ที่อันตราย คือ ประวัติศาสตร์ที่วางอยู่บนพื้นฐานความเชื่อ ส่วนประวัติศาสตร์ที่วางอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล คือ ประวัติศาสตร์ที่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ โดยมียึดหลักของอนารยชน คือ การมีความอดทนอดกลั้น( Tolerance) ต่อความเห็นที่แตกต่างออกไปจากตน ดังนั้น ศาสตราจารย์ธงชัย วินิจจะกูลจึงเห็นว่า ไม่ว่าอดีตจะเป็นอย่างไรก็ต้องเอาหลักฐานออกมากางกันให้เห็นหมดบนโต๊ะ และก็ถกเถียงกันได้อย่างเต็มที่

หลังการปาฐกถาของ ผู้เขียนตัดสินใจเดินทางกลับและแจ้งให้เจ้าหน้าที่ลงทะเบียนทราบว่า ตอนบ่ายจะไม่เข้าร่วมสัมมนาและจะส่งLinkของเว็บไซต์กลับไปยังศูนย์มานุษยวิทยาภายหลัง

ปาฐกถาของดร.ธงชัยทำให้เกิดคำถามที่ตกค้างอยู่ในใจว่า คนรักกัน ถ้าจะให้ความรักยืนนาน เราจะพูดกันด้วยคำหวานต่อกัน หรือ จะพูดจากันแบบผรุสวาท คนรักจะต้องอดกลั้นต่อกันไหม คนรักต้องถนอมน้ำใจกันไหม ถ้าเพื่อนบ้านหมางใจกัน จะใช้วิธีการอ่อนน้อมเข้าหากันแล้วปรับท่าทีเจรจากันอย่างมิตร หรือ จะใช้วิธีการถกเถียงเพื่อหาผิดหาถูกกัน ซึ่งผลที่ตามมาคือจะทำให้เลิกรากันไป หรือ จะยิ่งทะเลาะกันหนักเข้าไปอีก ฯลฯ

ตอนเย็น ผู้เขียนไปจับจ่ายสินค้าในตลาดเทสโก โลตัส สาขาลาดพร้าว ระหว่างเข้าคิวรอจ่ายเงิน ก็ได้รับอภินันทนาการบัตรส่วนลดใบละ 60 บาท จำนวน 2 ใบ ซึ่งตัดมาจากหนังสือพิมพ์รายวันจากลูกค้าสุภาพสตรีที่รอจ่ายค่าสินค้าอยู่ข้างหน้ามาแบบงงๆ แต่ก็ไม่ลืมขอบคุณเบาๆ

เงื่อนไขของบัตรสมนาคุณ คือ ต้องซื้อสินค้าขั้นต่ำ 600 บาท สำหรับ 1 บิล ต่อบัตรสมนาคุณ 1 ใบ ทั้งสองท่านนั้นคงซื้อสินค้าไม่ถึง 1,200 บาท จึงไม่สามารถใช้บัตรสมนาคุณได้ครบคนละ 2 ใบ

ท่ามกลางช่วงเวลาที่สมาชิกสภาผู้ทรงเกียรติกำลังเล่นบทบาทช่วงชิงการกล่าวหาและไขว่คว้าการได้เปรียบทางการเมือง โดยหาช่องทางที่จะสร้างข่าวในสื่อมวลชนให้ครึกโครมให้มากที่สุด บางฉีกรายงานของกรรมาธิการปรองดอง บางกลุ่มวอล์คเอ๊าท์จากห้องประชุม ฯลฯ

ในสังคมน้อยๆ ย่อย ๆ อีกหลายอณูของกรุงเทพฯ ก็อาจจะยังมีวัฒนธรรมแห่งความเอื้ออารีต่อกันและกันตามแต่โอกาสจะอำนวยหลงเหลือให้เห็นได้เสมอ