บทความที่ได้รับความนิยม

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ฤาษีรังแกฉัน!




โดย Bidya Sriwattanasarn เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 เวลา 11:45 น. ·






เมื่อก่อนเชื่อกันว่า ยิ่งมีความรู้ก็ยิ่งคุยกันรู้เรื่อง ไม่ต้องพูดมาก และตั้งแต่โบราณนานมาแล้วที่ฤาษีได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้รู้ผู้สั่งสอนศิลปาคม ช่วยกันสร้างบ้านแปงเมืองให้กุลบุตรกุลธิดา วาสุเทวฤาษีแห่งดอยสุเทพและสุกกะทันตฤาษีแห่งเมืองละโว้ช่วยกันสร้างเมืองหริภุญชัยเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่12-13 พ่อขุนรามคำแหง พ่อขุนงำเมืองและพญามังรายก็เรียนศิลปวิทยาการร่วมguru เดียวกันที่เมืองละโว้

ไม่ว่าฤาษี มหาฤาษี หรือครูบาอาจารย์ในอดีต ล้วนมีส่วนร่วมกันสร้างชาติบ้านเมืองให้อยู่ร่วมกันเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาถึงทุกวันนี้ ทั้งทางตรงหรือทางอ้อมไม่น้อยหน้าขุนทหารคนใด แม้ว่าครู หรือ มหาฤาษีจะไม่ต้องสละเลือดพลีชีพดังทหารหาญรั้วของชาติก็ตาม

อนิจจา ทุกวันนี้ ยิ่งเรียนมาก ยิ่งรู้มาก ยิ่งคุยกันไม่รู้เรื่อง ฤาษี มหาฤาษี บางตนจึงประสานเสียงร่ายมนตาสามัคคีเภท(มนตราทำลายความสามัคคี เทียบได้กับคำว่า สามัคคีภิทโทษ) กัดกร่อนวิถีความเป็นไทย โยกคลอนสถาบันหลักของประเทศโดยอ้างคาถาเสรีภาพทางวิชาการที่เกินขอบเขต ลืมสิ่งอันควรหรือมิควรที่เคยฝังรากลึกอยู่ในวัฒนธรรมสยาม

ฤาษีบางตนบอกว่า ฤาษีที่ต้องการแก้ไขมาตรา 112 "หลายๆ ท่านเป็นนักประวัติศาสตร์ที่มีความรู้ประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง เป็นวิทยาศาสตร์มากกว่าที่เรียนกันในโรงเรียนที่ท่านรัฐมนตรีเรียนอย่างแน่นอน"

ฤาษีบางตนบอกว่า ผู้อื่นไม่มีเหตุผลเพียงพอ แต่กลับกล่าวอุปมาแบบไม่เป็นวิทยาศาสตร์ว่า หากท่านเจ้าของชื่อทุนยังมีชีวิตอยู่ในวันนี้ ท่านอาจจะผิดหวังที่....

ฤาษีบางตนอ้างว่า ถูกเหยียบหัว ทั้งๆที่ตนเองกำลังย่ำหัวใจของเพื่อนร่วมชาติ มหาฤาษีตนหนึ่งบำเพ็ญตบะมานาน ยกย่องนารีน้อยผู้หลงผิดนางหนึ่ง และทำนายว่าจากผลงานที่เห็น เธอผู้นั้นสามารถจะขึ้นชั้นเป็นมหาเสนาบดีได้ต่อไปในภายภาคหน้า โดยมิได้บอกกล่าวให้หมดเปลือกว่าไปว่า ผู้จะนั่งในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงได้นั้น มิใช่ว่ามีแค่เพียงความกล้าที่จะฉีกประเพณีอันดีงานในบ้านเมืองแล้วก็จะขึ้นไปบริหารประเทศได้อย่างราบรื่น แต่ยังต้องมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีเพื่อน มีสังคม มีธรรมชาติและบุคลิกภาพที่สุขุม นุ่มนวล รอมชอม มีวิสัยทัศน์ ฯลฯ



ชมอย่างนี้ หากไม่รู้เท่าทัน ก็เหมือนกึ่งชมกึ่งผลักให้ตกกระได!

มหาฤาษีตนหนึ่งเสวยสุขอยู่ต่างแดนมานานหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ แต่ยังแวะเวียนเหาะมาร่าย "ภิทคาถา" ย่อยเป็นระยะๆ ล่าสุดแถลงว่า "อีก 50 ปี ประชาชนไทยจะตระหนักในคุณค่าแห่งมนตราภิทคาถาของคณะฤาษีหมอความ !"

ประวัติศาสตร์ชาติไทยมิได้เริ่มต้นเมื่อพ.ศ.2475 วีรบุรุษของคนไทยก็มีหลากหลาย ทุกระดับ ทุกชนชั้น มิได้มีเพียงปัญญาชนจากตระกูล "ผู้มีอันจะกิน" เพียงคนเดียวอย่างที่พยายามจะบอกให้เห็นคล้อยตาม

นักประวัติศาสตร์ในอดีตมีผลงานที่บ่งชี้ว่า บันทึกเหตุการณ์เพื่อสร้างความปรองดองและการอยู่ร่วมกันของชนทุกหมู่เหล่าภายในชาติ ชีวิตที่เรียบง่ายในอดีตของชาวบ้านที่ตื่นขึ้นมาออกไปทำมาหากินในไร่ ในสวน ในนา หรือ เข้าเดือน ส่วนแม่บ้านและลูกๆ ก็ทำอาหาร ล้างถ้วยจาน ถักทอผ้า ประดิษฐ์ประดอย หรือ ค้าขาย ถึงวันนักขัตฤกษ์ก็ร้องรำทำเพลง ทำบุญ ทำขวัญให้กำลังใจกันเช่นนี้ ชั่วนาตาปี ไม่เกี่ยวข้องกับการบ้านการเมือง เรื่องพื้นบ้านพื้นเมืองจึงเป็นเพียงถ่ายทอดสู่กันฟังแบบปากต่อปาก



ความพยายามในอดีตที่จะเสกสร้างรัฐธรรมนูญที่ไม่มีชีวิตให้กลายเป็นสถาบันหลักแทนที่สถาบันเก่าแก่ของชาติจึงไม่ประสบผลสำเร็จ

ขณะที่เรื่องราวของบ้านเมืองทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพงศาวดาร การทำสงคราม กฏหมาย กฎมนเทียนบาล การบูรณะซ่อมสร้างศาสนสถาน การติดต่อกับต่างประเทศ ฯลฯ กลับถูกบันทึกไว้อย่างละเอียด

หลักฐานของทูตPero Vaz de Sigeirra (ค.ศ.1684-1686) ระบุว่า ระหว่างการเข้ามาเจรจา เรื่อง การเตรียมการเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ ขุนนางที่เดินทางมาพบทูต มี "note book(สมุดบันทึก)" มาด้วยเสมอ นอกจากนี้หลักฐานของชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งก็ยืนยันว่า ชาวสยามเป็นคนที่มีนิสัยการชอบจดบันทึก ชี้ให้เห้นถึงความตระหนักในหน้าที่ขององค์การปกครองในอดีตเป็นอย่างดี ทำให้อดคิดแบบท้าทายไม่ได้ว่า ผลงานเล่มหนาของชิมง เดอ ลาลูแบร์ และบาทหลวงทิโมลิอง เดอ ชัวซี ที่อ้างจดหมายเหตุของคนชาติตะวันตกยันกลับไปกลับมา และยังอ้างข้อมูลจาก Incognita Informants (แหล่งข้อมูล) ชาวสยามด้วย


ซึ่งดีไม่ดีข้อมูลมากมายส่วนหนึ่งอาจคัดลอหรือแปลมาจากเอกสารภาษาสยามโดยตรงก็ได้

แล้วฤาษี มหาฤาษีแห่งกาลบัดนี้ ย้อนดูตัวเองบ้างหรือไม่ว่า ยังสร้างคุณประโยชน์ตอบแทนแผ่นดินเกิดเพียงพอแล้วหรือยัง...หยุดร่ายมนตราสามัคคีภิทคาถาเถิด


...หยุดสร้างความสับสนและร้าวฉานให้แก่คนในชาติบ้านเมืองเสียที!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น